สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน (CAAS) เผยว่า กลุ่มนักวิจัยของจีนได้จัดตั้งแพลตฟอร์มนวัตกรรมสำหรับการสำรวจและใช้ประโยชน์จากยีนเด่นของเชื้อพันธุกรรมข้าวป่า
ลักษณะแตกต่างทางพันธุกรรมในข้าวป่าเป็นแหล่งสะสมยีนที่มีประโยชน์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ทว่า จีโนมของข้าวป่ายังไม่ได้รับการประเมินอย่างครอบคลุม ทีมวิจัยจึงได้ใช้ประโยชน์จากข้าวป่าทั่วไปของจีน พันธุ์วาย476 (Y476) ซึ่งเด่นในเรื่องความทนทาน โดยพัฒนาชิ้นส่วนโครโมโซม 2 ชุดที่ใช้ข้าวป่าพันธุ์วาย476 เป็นตัวให้ และใช้ข้าวที่เพาะเลี้ยงเป็นตัวรับ
ทีมวิจัยยังได้จัดตั้งแพลตฟอร์มที่สามารถสำรวจยีนเด่นในข้าวป่าอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยหยางชิ่งเหวิน นักวิจัยจากดังกล่าว กล่าวว่า แพลตฟอร์มนี้จะช่วยเร่งการวิจัยหน้าที่ของจีโนม (functional genomics) ในข้าวป่า และส่งมอบเครื่องมือขั้นสูงสำหรับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเชื้อพันธุกรรมข้าว รวมถึงการปรับปรุงยีนของพันธุ์ข้าว
อนึ่ง การศึกษาข้างต้นซึ่งร่วมดำเนินการโดยกลุ่มนักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน และสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications)